วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

สัจธรรมและความไม่รุนแรงตามแนวทางของมหาตมะ คานธี / สำนักข่าวราชดำเนิน

 
 สัจธรรมและความไม่รุนแรงตามแนวทางของมหาตมะ คานธี / สำนักข่าวราชดำเนิน

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร25/9/2552

 

 

สัจธรรมและความไม่รุนแรงตามแนวทางของมหาตมะ คานธี

 

มหาตมะ คานธีเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งเท่าที่มีมนุษย์เกิดมาบนพื้นพิภพนี้ แต่ปรากฏว่าหนังสือที่เกี่ยวกับแนวคิดของท่านกลับมีค่อนข้างน้อยในตลาด หนังสือเมืองไทย จนเมื่อได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อว่า วจนะของมหาตมะ คานธี ที่แปลและเรียบเรียงโดยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ ซึ่งท่านได้ศึกษาประวัติและผลงานของมหาตมะ คานธีมานานกว่า 20 ปี จนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงขอนำเสนอเนื้อหาบางส่วนในหนังสือเล่มนี้ที่แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมอันเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิตและในทางการเมืองของมหาตมะ คานธี ดังนี้

ใน เรื่องของการดำรงชีวิต มหาตมะ คานธีเชื่อในความไว้วางใจ การให้เกียรติกันและกัน โดยกล่าวว่า ความไว้วางใจกันย่อมก่อให้เกิดความไว้วางใจกัน ซึ่งความไม่รุนแรงเป็นรากฐานของความไว้ใจให้เกียรติกัน ผู้ที่ไว้วางใจให้เกียรติคนอื่นย่อมไม่เคยสูญหายไปจากโลก แต่ผู้ที่ชอบระแวงสงสัยมักจะหลงอยู่กับตัวเองและกับโลก

มหาตมะ คานธี ยังได้กล่าวว่า ตนเองเป็นคนชอบฝัน แต่เป็นความฝันที่ไม่ใช่เกี่ยวกับสิ่งในอากาศ ซึ่งคานธีเรียกตนเองว่าเป็นนักฝันที่ต้องการเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริง มากที่สุด รวมทั้งยังเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี โดยจัดตนเองอยู่ในกลุ่มเดียวกับโคลัมบัสและสตีเวนสัน ผู้ซึ่งมีความหวังอย่างต่อเนื่องเมื่อเผชิญกับสิ่งแปลกๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน

ส่วน ในทางการเมืองนั้น มหาตมะ คานธี เห็นว่า โลกกำลังเบื่อหน่ายต่อความตายอันเกิดจากการหลั่งเลือด โลกกำลังแสวงหาหนทางให้พ้นจากความทุกข์ ความไม่รุนแรงจะเป็นช่องทางช่วยให้โลกพบหนทางไปสู่ความรอดพ้นจากปัญหาอัน เกิดจากความทุกข์และความรุนแรงทั้งหมดในโลกนี้ได้ ซึ่งความไม่รุนแรงไม่ใช่เป็นคุณธรรมที่จะต้องปฏิบัติเพื่อสันติสุขและโมกข ธรรมเฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่เป็นกฎสำหรับการปฏิบัติของกลุ่ม ชุมชน และชาติทั้งหลายด้วย ความไม่รุนแรงโดยสภาพที่มีการเคลื่อนไหวนั้นหมายถึง ความทุกข์อย่างรู้ตัว ไม่ได้หมายถึงการยอมสยบให้กับเจตนารมณ์ของผู้ทำความชั่วอย่างไม่มีความคิด แต่หมายถึงการต่อต้านเจตนารมณ์ของทรราชย์ด้วยจิตวิญญาณทั้งหมดของบุคคล จึงเป็นไปได้ที่บุคคลคนเดียวจะฝ่าฝืนพลังทั้งหมดของอาณาจักรที่ไม่เป็นธรรม เพื่อปกป้องเกียรติยศ ศาสนา และจิตวิญญาณของตน อันเป็นเหตุให้เกิดความล่มสลายของอาณาจักรนั้นหรือสำหรับชนยุคใหม่ของ อาณาจักรนั้นได้

ซึ่งมหาตมะ คานธี ยังได้กล่าวถึงประเด็นนี้เพิ่มเติมอีกว่า ไม่ ใช่เป็นความรุนแรงถ้าเราเพียงรักผู้ที่รักเรา แต่เป็นความไม่รุนแรงเมื่อเรารักผู้ที่เกลียดเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากเย็นที่จะปฏิบัติตามกฏเกณฑ์อันยิ่งใหญ่แห่งความรักนี้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ดีและยิ่งใหญ่ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ยากจะทำ ความรักในบุคคลที่เราเกลียดชังเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในบรรดาสิ่งที่ยากทั้ง หมด แต่โดยอาศัยเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ยากที่สุดนี้กลับง่ายที่จะทำให้สำเร็จได้ ถ้าเราต้องการจะทำ

อีก ทั้งการปฏิวัติโดยไม่ใช้ความรุนแรงไม่ใช่เป็นการยึดอำนาจ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการโอนอำนาจโดยสันติ รวมทั้งผู้ที่สูญเสียชีวิตโดยทำการต่อสู้ถือว่าเป็นความกล้าหาญ แต่ผู้ที่ปฏิเสธที่จะต่อสู้และปฏิเสธที่จะยอมสยบให้แก่ผู้ที่ยึดอำนาจย่อม เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญกว่า อีกทั้งการดื้อแพ่งที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองจะต้องเป็นไปด้วย ความจริงใจ น่าเคารพ ควบคุมได้ อย่าเป็นไปด้วยความล่วงละเมิดกฎหมาย ต้องขึ้นอยู่กับหลักการที่เข้าใจได้ดีบางอย่าง อย่าได้มีเจตนาร้าย และเหนือสิ่งอื่นใดอย่ามีความพยาบาทหรือความเกลียดชังอยู่เบื้องหลัง

 

เมื่อไรก็ตามที่ท่านเผชิญหน้ากับศัตรู จงพิชิตศัตรูของท่านด้วยความรัก (มหาตมะ คานธี)

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4252&acid=4252

--
http://www.kmutnb.ac.th/index.htm
http://www.ecitthai.net
http://www.tourismthailand.org/seminar/
http://www.thaihotels.org/
http://www.tuasso.com/scripts/tua.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น