วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (2)


ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (2) / สำนักข่าวราชดำเนิน

ภิศักดิ์ 9/10/2552

 

ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (2)

 

          การ พึ่งตนเองเป็นความสามารถในการที่จะยืนอยู่บนขาของตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนอื่นช่วยเหลือ แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นการวางเฉยหรือปฏิเสธความช่วยเหลือจากภายนอก แต่หมายถึง ความสามารถที่จะอยู่อย่างสันติกับตัวเอง และธำรงไว้ซึ่งความเคารพตนเองเมื่อการช่วยเหลือจากภายนอกไม่มีหรือได้รับการ ปฏิเสธ

          การ ทำความผิดพลาดบ้างเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ และจะต้องถือว่า การรู้จักให้อภัยเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เช่นกัน เพราะถ้าเราทำผิดพลาด เราก็อยากจะได้รับการให้อภัยมากกว่าการถูกทำโทษและถูกเตือนให้นึกถึงการ กระทำของเรา ซึ่ง การให้อภัยมิใช่เป็นการลืม คุณค่าของการให้อภัยอยู่ที่การมีความรัก แม้จะรู้อย่างชัดเจนว่าคนที่เราจะรักนั้นไม่ใช่เพื่อนของเราก็ตาม และสิ่งที่สำคัญ คือ การให้อภัยเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของคนที่เข้มแข็ง

ข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ การกิน การดื่ม และการเคลื่อนย้าย จำเป็นต้องรวมเอาการเบียดเบียนบางอย่างหรือการทำลายชีวิตบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อยก็ตาม ผู้อุทิศชีวิตให้แก่อหิสธรรมย่อมได้ชื่อว่ามีศรัทธาด้วยความจริงใจ ถ้าหากการกระทำของเขาทุกอย่างมุ่งไปสู่จุดหมาย คือ ความเมตตา กรุณา และถ้าเขาใช้ความสามารถช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ และพยายามอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อจะเป็นอิสระจากวงจรอุบาทว์แห่งการเบียด เบียน (หิงสา) เขาจะได้ชื่อว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการควบคุมตนเองและมีเมตตา กรุณา แต่เขาจะไม่สามารถเป็นอิสระจากการเบียดเบียนจากภายนอกได้ทั้งหมด

                หน้าที่ ของผู้ปฏิบัติอหิงสธรรม คือ การหยุดสงคราม ผู้ที่ไม่เท่าเทียมกับหน้าที่นั้นคือ ผู้ที่ไม่มีอำนาจที่จะหยุดสงคราม ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะยุติสงคราม อาจจะเข้าร่วมในสงคราม แต่ถึงกระนั้นก็พยายามทำจิตใจของตนให้เป็นอิสระ รวมทั้งให้ชาติของตนและโลกทั้งหมดเป็นอิสระจากสงครามให้ได้ ซึ่งอหิงสธรรมเป็นวิธีการ ส่วนสัจธรรมเป็นจุดมุ่งหมาย วิธีการจะเป็นวิธีการได้นั้นจะต้องอยู่ภายในระยะที่เราเอื้อมถึง ดังนั้นอหิงสธรรมจึงเป็นหน้าที่อันสูงส่งของเรา

                ส่วนสัตยะคระหะ คือ  การยึดมั่นในสัจธรรม โดยไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ผู้ที่เป็นศัตรู แต่ตัวเองยอมทนรับทุกข์ทรมาน หรือ การยึดมั่นกับพลังแห่งความถูกต้องหรือ พลังแห่งความรัก หรือ พลังแห่งจิตวิญญาณโดย ใช้วิธีที่ไม่ให้มีการปฏิบัติรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม แต่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องได้รับการชักจูงให้หันเหจากความผิดพลาดด้วยความอดทน และความเห็นอกเห็นใจ

                สัต ยะคระหะ เป็นหลักการสุภาพอ่อนน้อม ไม่เคยทำอันตราย ไม่ใช่เป็นผลมาจากความโกรธหรือความพยาบาท ไม่ใช่เป็นการจู้จี้ไม่อดทน และไม่ใช่เป็นการกล่าวเกรี้ยวกราด ถือว่าเป็นหลักการที่นำมาใช้แทนการใช้ความรุนแรงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผู้ปฏิบัติตามหลักสัตยะคระหะจะต้องเชื่อฟังกฎหมายของสังคมอย่างฉลาดและ ด้วยเจตนารมณ์ที่เป็นอิสระของตนเอง เพราะเขาจะต้องพิจารณาว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่อัน ศักดิ์สิทธิ์ที่เขาจะต้องทำ แต่เมื่อบุคคลได้เชื่อฟังตามกฎหมายของสังคมด้วยความระมัดระวังแล้ว เขาย่อมอยู่ในฐานะที่จะตัดสินว่ากฎเกณฑ์โดยเฉพาะบางอย่างแบบใจดีเป็นธรรม และแบบใดไม่เป็นธรรมและชั่วร้าย

                และ ก่อนที่เราจะทำตัวให้เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติเรื่องความดื้อแพ่งของพลเมือง เราจะต้องทำการเชื่อฟังต่อกฎหมายของรัฐอย่างตั้งใจและอย่างเคารพนับถือก่อน โดยส่วนใหญ่เราเชื่อฟังกฎหมายดังกล่าวเนื่องจากความกลัวต่อการถูกทำโทษเมื่อ ละเมิดกฎหมายเหล่านั้น ข้อนี้เป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับว่ากฎหมายดังกล่าวไม่เกี่ยวกับหลักการ ทางศีลธรรม

               

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4351&acid=4351
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
news
http://net209.blogspot.com/ net9
http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net
http://parent-net.blogspot.com/ parent
http://netnine.blogspot.com/  science
http://pwdinth.blogspot.com/
http://senatelibrary.wordpress.com/about
http://gotoknow.org/blog/cemu/295924

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตามไปดู มทร.ธัญบุรีสอนดนตรีไทย "นักโทษชาย" โชว์ความสามารถหน้าพระที่นั่ง

วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11533 มติชนรายวัน


ตามไปดู มทร.ธัญบุรีสอนดนตรีไทย "นักโทษชาย" โชว์ความสามารถหน้าพระที่นั่ง


โดย ขติยา มหาสินธ์ oui@hotmail.com




เมื่อ เร็วๆ นี้ ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้จัดส่งนักศึกษาและคณาจารย์ที่เป็นอาสาสมัครไปสอนดนตรีไทยให้แก่ผู้ต้อง ขังชายในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี จ.ปทุมธานี เพื่อจะได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีไทย ต่อหน้าพระที่นั่ง ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดพร้อมปัญญา ศูนย์เกษตรธรรมชาติ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ และศูนย์การเรียนพระวิหารธรรมในพระสังฆราชอุปถัมภ์ ของทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี ในราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553

อาจารย์ บรรทม น่วมศิริ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เล่าถึงที่มาว่า ได้รับการประสานงานจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี ว่าจะตั้งชมรมดนตรีไทยในเรือนจำ จึงขอความร่วมมือจากทาง มทร.ธัญบุรี ขอให้จัดส่งคณาจารย์และนักศึกษามาช่วยสอนดนตรีให้แก่ผู้ต้องขัง เพื่อจะได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีต่อหน้าพระที่นั่ง หลังทราบข่าว ก็ได้มีอาสาสมัครจากนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 และอาจารย์ประมาณ 9 คนไปช่วยสอน ตนตั้งใจจะให้ผู้ต้องขังแสดงดนตรีไทย 3 เพลง ตอนนี้ฝึกซ้อมเพลงมหาฤกษ์และมหาชัยแล้ว อีกเพลงอาจจะเป็นเพลงบรรเลง ถือเป็นโอกาสที่ดีของนักศึกษาเหล่านี้ เพราะจะได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงจากการช่วยสอนดนตรี ก่อนที่จะออกไปฝึกปฏิบัติการสอนจริงในชั้นปีที่ 5 และจบออกไปเป็นครูดนตรี



"ตลอด ระยะเวลากว่า 1 เดือนที่มาสอน พบว่าผู้ต้องขังมีความตั้งใจมาก ขยันฝึกซ้อม และวันไหนที่ไม่มีตารางเรียนดนตรี ก็ยังคงฝึกซ้อมเล่นดนตรีต่อไป เรียกว่าการบ้านที่มอบหมายให้ เมื่อมาติดตาม ก็ทำได้ครบไม่มีขาด สำหรับโครงการในอนาคตนั้น มทร.ธัญบุรี อาจจะมาสอนดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น โปงลาง เพราะมีนักศึกษาเรียนดนตรีด้านนี้อยู่" อาจารย์บรรทมกล่าว

ส่วน นายอารีย์ เฉลยสุข ผู้อำนวยการทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่จองจำนักโทษคดียาเสพติดที่เหลือโทษไม่เกิน 10 ปี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ต้องขังจำนวนกว่า 2,800 คน ที่นี่ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะปล่อยนักโทษออกไปเป็นอิสระ ดังนั้น จะเน้นพัฒนาจิตใจ กล่อมเกลาทางศาสนาตลอดจนการฝึกอาชีพและการบำบัดต่างๆ ซึ่งการสอนดนตรี ก็เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมบำบัดและถือเป็นขั้นตอนเกือบสุดท้ายในการกล่อม เกลานักโทษให้เป็นคนดีของสังคมก่อนที่จะออกจากเรือนจำ โดยก่อนหน้านี้ทัณฑสถานแห่งนี้มีทั้งกีฬาบำบัด ศิลปะบำบัด อาชีวะบำบัด เกษตรบำบัด เป็นต้น แต่ดนตรีบำบัดเพิ่งมีเป็นครั้งแรก โดยทางเรือนจำมีเครื่องดนตรีอยู่แล้ว ขาดเพียงครูสอน จึงได้ประสานงานขอความร่วมมือกับทาง มทร.ธัญบรี ในการจัดส่งครูและนักศึกษามาช่วยสอน ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีเปิดหน่วยงานดังกล่าวแล้ว การเรียนดนตรีไทย ยังช่วยบำบัดจิตใจและคลายเครียดให้กับผู้ต้องขัง ตลอดจนเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยอนุรักษ์ดนตรีไทยให้ยั่งยืนต่อไปด้วย



ตัว แทนผู้ต้องขังกล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในพิธีเปิด ห้องสมุดพร้อมปัญญา ศูนย์เกษตรธรรมชาติ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ และศูนย์การเรียนพระวิหารธรรมในพระสังฆราชอุปถัมภ์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นองค์ประธาน ก็จะตั้งใจทำให้ดีที่สุด ซึ่งในการแสดงดนตรีไทยตนจะรับหน้าที่ในการเป่าขลุ่ยซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมี พื้นฐานทางด้านดนตรีไทยมาก่อน จึงต้องอาศัยการท่องจำตัวโน้ตและทำเนียงเพลง ตลอดจนการฝึกซ้อมเป็นประจำสม่ำเสมอ หลังงานการแสดงนี้แล้ว ตั้งใจจะยังคงฝึกซ้อมและต่อยอดต่อไป เพราะการเล่นดนตรีช่วยผ่อนคลายความเครียดและอาจนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ หากมีความรู้ความสามารถเพียงพอ

ด้านน้องพรเทพ ปู่ประเสริฐ และน้องขวัญชัย รอดพวง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า ตอนที่ทราบว่ามีกิจกรรมนี้ได้ขอเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทันที เพราะมองว่าได้สั่งสมประสบการณ์ ก่อนที่จะฝึกปฏิบัติสอนจริงในชั้นปีที่ 5 ซึ่งการมาสอนดนตรีไทยให้แก่ผู้ต้องขังครั้งนี้ ทำให้เห็นสภาพการทำงานจริง ได้เรียนรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง จะได้เตรียมพร้อมก่อนออกไปปฏิบัติจริง ถือเป็นประสบการณ์นอกมหาวิทยาลัยที่มีคุ้มค่าอย่างมาก สำหรับการฝึกดนตรีไทยให้แก่ผู้ต้องขัง ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับนักโทษเพราะการเรียนการสอนดนตรีไทย การจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วนั้น จะต้องมีพื้นฐานมาก่อนหรือไม่ก็ควรเรียนในวัยเด็ก ก็จะทำให้จดจำและเรียนรู้ได้เร็ว แต่ในกรณีนี้ผู้เรียนไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีไทยมาก่อนเลย และส่วนมากก็เป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุเยอะแล้ว จึงค่อนข้างต้องใช้เวลาในการฝึกฝนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ตั้งใจเรียนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ซึ่งถึงตอนนี้ก็เรียนรู้ไปได้สองเพลงแล้ว ทั้งนี้ หากมีกิจกรรมในลักษณะนี้อีกก็จะมาเสนอตัวขอมาเป็นอาสาสมัครอีก


หน้า 23
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu20071052&sectionid=0107&day=2009-10-07

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
wong
http://climate9.blogspot.com/ climate
http://siddhartha99.blogspot.com/ siddthartha
http://seminarsweet.blogspot.com/  ilaw
http://sunsweet09.blogspot.com/ sunsweet
http://dbd652.blogspot.com/ dbd652
http://www.thaicyberu.go.th/
http://www.youtube.com/greenpeacethailand
http://www.lek-prapai.org/

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (1)


 
 ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (1) / สำนักข่าวราชดำเนิน

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร2/10/2552

 

 

ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (1)

 

เมื่อ คราวที่แล้วได้เขียนถึงมหาตมะ คานธี บุคคลที่ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งเท่าที่มีมนุษย์เกิดมาบนพื้นพิภพนี้ไปแล้วบาง ส่วน แต่ในหนังสือ วจนะของมหาตมะ คานธี ที่แปลและเรียบเรียงโดยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกมากมายที่มหาตมะ คานธีได้เคยกล่าวและดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างไว้ จึงขอนำเสนอเนื้อหาอีกส่วนหนึ่งที่ได้จากหนังสืออันทรงคุณค่าเล่มนี้ ดังนี้

เมื่อพูดถึงความรัก มหาตมะ คานธีมี ความเชื่ออย่างมั่งคงว่า ความรักช่วยค้ำจุนโลกได้ ชีวิตจะมีอยู่เฉพาะในที่ที่มีความรัก ชีวิตปราศจากความรักเหมือนกับชีวิตที่ตายไปแล้ว ความรักเป็นด้านหนึ่งของเหรียญ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสัจธรรม

                ความรักไม่เคยมีการเรียกร้อง มีแต่ให้ ความรักมีแต่จะยอมรับความทุกข์โดยไม่มีความโกรธเคือง  และไม่เคยมีการแก้แค้น แต่คนขลาดไม่สามารถจะมีความรักได้ เพราะความรักเป็นเอกสิทธิเฉพาะของคนกล้าเท่านั้น

มหาตมะ คานธี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญของชีวิตไว้ว่าคือ การดำรงชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง คิดอย่างถูกต้องและทำอย่างถูกต้อง จิตวิญญาณจะสูญสลายไปเมื่อเรามัวแต่ครุ่นคิดถึงแต่ร่างกายอย่างเดียว และเมื่อ ใดก็ตามที่เรามีความสงสัยหรือคิดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเองมากเกินไป ให้จงนึกถึงใบหน้าของคนที่ยากจนที่สุดที่ไร้คนช่วยเหลืออย่างน่าสมเพช ซึ่งเราคงจะได้เห็นมาบ้างแล้ว และถามตัวเราเองว่า ก้าวย่างของชีวิตที่เรากำลังครุ่นคิดอยู่นั้นจะมีประโยชน์อะไรบ้างหรือไม่ แก่คนยากจนที่สุดนั้น คนที่ยากจนที่สุดนั้นจะได้รับอะไรบ้างหรือไม่จากการครุ่นคิดของเรา และการครุ่นคิดมากเกินไปของเรานั้นจะช่วยให้มีอำนาจควบคุมเหนือชีวิตและชะตา กรรมแห่งชีวิตของเขาหรือไม่ ถ้าทำได้เช่นนี้เราจะพบว่า ความสงสัยและความครุ่นคิดคำนึงถึงแต่ตัวเองนั้นจะค่อยๆ สลายตัวไป และ จุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์อีกประการหนึ่ง คือ การชนะนิสัยเก่า การที่เราสามารถกำจัดความชั่วร้ายในตัวเรา และฟื้นฟูความดีให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ถูกต้อง

                ซึ่งบันไดขั้นแรกที่จะทำให้เราไปถึงจุดนั้นได้ คือ การควบคุมความคิดของเราเอง มหาตมะ คานธี เห็นว่า มนุษย์มีเหตุผล รู้จักแยกแยะเจตนารมณ์เสรีอย่างเป็นจริง ซึ่งสัตว์ป่าไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว และไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างความดีกับความชั่ว บุญกับบาป เนื่องจากมนุษย์เป็นสื่อที่เป็นอิสระ จึงสามารถรู้ถึงความแตกต่างดังกล่าวและเมื่อได้ปฏิบัติตามคุณลักษณะอันสูง ส่งแล้วมนุษย์ย่อมแสดงตัวเองว่าสูงส่งกว่าสัตว์ป่า แต่เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามคุณลักษณะอันหยาบช้า มนุษย์ก็ย่อมแสดงตัวให้เห็นเช่นกันว่ามนุษย์มิได้แตกต่างอะไรไปกว่าสัตว์ป่า

สาม ในสี่ของความทุกข์และความเข้าใจผิดในโลกจะสูญสิ้น ถ้าเรารับความคิดเห็นของศัตรูและเข้าใจทัศนะของเขา ทำได้เช่นนี้ เราก็จะสามารถประนีประนอมกับศัตรูของเราหรือคิดถึงศัตรูของเราในทางทีดีขึ้น และเป็นการดีที่เราจะมองเห็นตัวเองให้เหมือนอย่างที่คนอื่นมองเห็นเรา จงพยายามเท่าที่จะทำได้ เราใช่ว่าจะสามารถรู้จักตัวเราเองอย่างเต็มที่เหมือนอย่างที่เราเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความชั่วร้ายในตัวเรา ข้อนี้เราสามารถทำได้ก็เพียงถ้าหากว่าไม่โกรธกับผู้ที่วิจารณ์เรา  แต่ยินดียอมรับอะไรก็ได้ที่ผู้วิจารณ์กล่าวถึง

          ความเป็นคนไม่ใช่อยู่ที่การเสแสร้งยกยอความกล้าอย่างบ้าบิ่นหรือความเป็นเจ้าคนนายคน  แต่ ความเป็นคนอยู่ที่การกล้าทำสิ่งที่ถูกต้อง และกล้าเผชิญกับผลของการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวทางการเมือง สังคม หรือด้านอื่นใดก็ตาม ซึ่งความเป็นคนอยู่ที่การกระทำไม่ใช่อยู่ที่การพูด และความกล้าหาญไม่ใช่คุณสมบัติของร่างกาย แต่เป็นคุณสมบัติของจิตวิญญาณ

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4301&acid=4301
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/
http://newsblog9.blogspot.com/
http://bloghealth99.blogspot.com/
http://labour9.blogspot.com/
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm