ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (2) / สำนักข่าวราชดำเนิน ภิศักดิ์ 9/10/2552
|
|
ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (2) การ พึ่งตนเองเป็นความสามารถในการที่จะยืนอยู่บนขาของตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนอื่นช่วยเหลือ แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นการวางเฉยหรือปฏิเสธความช่วยเหลือจากภายนอก แต่หมายถึง ความสามารถที่จะอยู่อย่างสันติกับตัวเอง และธำรงไว้ซึ่งความเคารพตนเองเมื่อการช่วยเหลือจากภายนอกไม่มีหรือได้รับการ ปฏิเสธ การ ทำความผิดพลาดบ้างเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ และจะต้องถือว่า การรู้จักให้อภัยเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เช่นกัน เพราะถ้าเราทำผิดพลาด เราก็อยากจะได้รับการให้อภัยมากกว่าการถูกทำโทษและถูกเตือนให้นึกถึงการ กระทำของเรา ซึ่ง การให้อภัยมิใช่เป็นการลืม คุณค่าของการให้อภัยอยู่ที่การมีความรัก แม้จะรู้อย่างชัดเจนว่าคนที่เราจะรักนั้นไม่ใช่เพื่อนของเราก็ตาม และสิ่งที่สำคัญ คือ การให้อภัยเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของคนที่เข้มแข็ง ข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ การกิน การดื่ม และการเคลื่อนย้าย จำเป็นต้องรวมเอาการเบียดเบียนบางอย่างหรือการทำลายชีวิตบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อยก็ตาม ผู้อุทิศชีวิตให้แก่อหิสธรรมย่อมได้ชื่อว่ามีศรัทธาด้วยความจริงใจ ถ้าหากการกระทำของเขาทุกอย่างมุ่งไปสู่จุดหมาย คือ ความเมตตา กรุณา และถ้าเขาใช้ความสามารถช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ และพยายามอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อจะเป็นอิสระจากวงจรอุบาทว์แห่งการเบียด เบียน (หิงสา) เขาจะได้ชื่อว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการควบคุมตนเองและมีเมตตา กรุณา แต่เขาจะไม่สามารถเป็นอิสระจากการเบียดเบียนจากภายนอกได้ทั้งหมด หน้าที่ ของผู้ปฏิบัติอหิงสธรรม คือ การหยุดสงคราม ผู้ที่ไม่เท่าเทียมกับหน้าที่นั้นคือ ผู้ที่ไม่มีอำนาจที่จะหยุดสงคราม ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะยุติสงคราม อาจจะเข้าร่วมในสงคราม แต่ถึงกระนั้นก็พยายามทำจิตใจของตนให้เป็นอิสระ รวมทั้งให้ชาติของตนและโลกทั้งหมดเป็นอิสระจากสงครามให้ได้ ซึ่งอหิงสธรรมเป็นวิธีการ ส่วนสัจธรรมเป็นจุดมุ่งหมาย วิธีการจะเป็นวิธีการได้นั้นจะต้องอยู่ภายในระยะที่เราเอื้อมถึง ดังนั้นอหิงสธรรมจึงเป็นหน้าที่อันสูงส่งของเรา ส่วนสัตยะคระหะ คือ “การยึดมั่นในสัจธรรม โดยไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ผู้ที่เป็นศัตรู แต่ตัวเองยอมทนรับทุกข์ทรมาน” หรือ “การยึดมั่นกับพลังแห่งความถูกต้อง” หรือ “พลังแห่งความรัก” หรือ “พลังแห่งจิตวิญญาณ” โดย ใช้วิธีที่ไม่ให้มีการปฏิบัติรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม แต่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องได้รับการชักจูงให้หันเหจากความผิดพลาดด้วยความอดทน และความเห็นอกเห็นใจ สัต ยะคระหะ เป็นหลักการสุภาพอ่อนน้อม ไม่เคยทำอันตราย ไม่ใช่เป็นผลมาจากความโกรธหรือความพยาบาท ไม่ใช่เป็นการจู้จี้ไม่อดทน และไม่ใช่เป็นการกล่าวเกรี้ยวกราด ถือว่าเป็นหลักการที่นำมาใช้แทนการใช้ความรุนแรงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผู้ปฏิบัติตามหลักสัตยะคระหะจะต้องเชื่อฟังกฎหมายของสังคมอย่างฉลาดและ ด้วยเจตนารมณ์ที่เป็นอิสระของตนเอง เพราะเขาจะต้องพิจารณาว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่อัน ศักดิ์สิทธิ์ที่เขาจะต้องทำ แต่เมื่อบุคคลได้เชื่อฟังตามกฎหมายของสังคมด้วยความระมัดระวังแล้ว เขาย่อมอยู่ในฐานะที่จะตัดสินว่ากฎเกณฑ์โดยเฉพาะบางอย่างแบบใจดีเป็นธรรม และแบบใดไม่เป็นธรรมและชั่วร้าย และ ก่อนที่เราจะทำตัวให้เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติเรื่องความดื้อแพ่งของพลเมือง เราจะต้องทำการเชื่อฟังต่อกฎหมายของรัฐอย่างตั้งใจและอย่างเคารพนับถือก่อน โดยส่วนใหญ่เราเชื่อฟังกฎหมายดังกล่าวเนื่องจากความกลัวต่อการถูกทำโทษเมื่อ ละเมิดกฎหมายเหล่านั้น ข้อนี้เป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับว่ากฎหมายดังกล่าวไม่เกี่ยวกับหลักการ ทางศีลธรรม | |
http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4351&acid=4351 -- ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much. news http://net209.blogspot.com/ net9 http://parent-youth.blogspot.com/ parent-youth.net http://parent-net.blogspot.com/ parent http://netnine.blogspot.com/ science http://pwdinth.blogspot.com/ http://senatelibrary.wordpress.com/about http://gotoknow.org/blog/cemu/295924 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น