ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (1) / สำนักข่าวราชดำเนิน |
|
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร2/10/2552
|
|
ความรัก สัจธรรม อหิงสธรรม และสัตยะคระหะแห่งมหาตมะ คานธี (1) เมื่อ คราวที่แล้วได้เขียนถึงมหาตมะ คานธี บุคคลที่ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งเท่าที่มีมนุษย์เกิดมาบนพื้นพิภพนี้ไปแล้วบาง ส่วน แต่ในหนังสือ “วจนะของมหาตมะ คานธี” ที่แปลและเรียบเรียงโดยศาสตราจารย์ ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกมากมายที่มหาตมะ คานธีได้เคยกล่าวและดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างไว้ จึงขอนำเสนอเนื้อหาอีกส่วนหนึ่งที่ได้จากหนังสืออันทรงคุณค่าเล่มนี้ ดังนี้ เมื่อพูดถึงความรัก มหาตมะ คานธีมี ความเชื่ออย่างมั่งคงว่า ความรักช่วยค้ำจุนโลกได้ ชีวิตจะมีอยู่เฉพาะในที่ที่มีความรัก ชีวิตปราศจากความรักเหมือนกับชีวิตที่ตายไปแล้ว ความรักเป็นด้านหนึ่งของเหรียญ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสัจธรรม ความรักไม่เคยมีการเรียกร้อง มีแต่ให้ ความรักมีแต่จะยอมรับความทุกข์โดยไม่มีความโกรธเคือง และไม่เคยมีการแก้แค้น แต่คนขลาดไม่สามารถจะมีความรักได้ เพราะความรักเป็นเอกสิทธิเฉพาะของคนกล้าเท่านั้น มหาตมะ คานธี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญของชีวิตไว้ว่าคือ การดำรงชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง คิดอย่างถูกต้องและทำอย่างถูกต้อง จิตวิญญาณจะสูญสลายไปเมื่อเรามัวแต่ครุ่นคิดถึงแต่ร่างกายอย่างเดียว และเมื่อ ใดก็ตามที่เรามีความสงสัยหรือคิดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเองมากเกินไป ให้จงนึกถึงใบหน้าของคนที่ยากจนที่สุดที่ไร้คนช่วยเหลืออย่างน่าสมเพช ซึ่งเราคงจะได้เห็นมาบ้างแล้ว และถามตัวเราเองว่า ก้าวย่างของชีวิตที่เรากำลังครุ่นคิดอยู่นั้นจะมีประโยชน์อะไรบ้างหรือไม่ แก่คนยากจนที่สุดนั้น คนที่ยากจนที่สุดนั้นจะได้รับอะไรบ้างหรือไม่จากการครุ่นคิดของเรา และการครุ่นคิดมากเกินไปของเรานั้นจะช่วยให้มีอำนาจควบคุมเหนือชีวิตและชะตา กรรมแห่งชีวิตของเขาหรือไม่ ถ้าทำได้เช่นนี้เราจะพบว่า ความสงสัยและความครุ่นคิดคำนึงถึงแต่ตัวเองนั้นจะค่อยๆ สลายตัวไป และ จุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษย์อีกประการหนึ่ง คือ การชนะนิสัยเก่า การที่เราสามารถกำจัดความชั่วร้ายในตัวเรา และฟื้นฟูความดีให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ถูกต้อง ซึ่งบันไดขั้นแรกที่จะทำให้เราไปถึงจุดนั้นได้ คือ การควบคุมความคิดของเราเอง มหาตมะ คานธี เห็นว่า มนุษย์มีเหตุผล รู้จักแยกแยะเจตนารมณ์เสรีอย่างเป็นจริง ซึ่งสัตว์ป่าไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว และไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างความดีกับความชั่ว บุญกับบาป เนื่องจากมนุษย์เป็นสื่อที่เป็นอิสระ จึงสามารถรู้ถึงความแตกต่างดังกล่าวและเมื่อได้ปฏิบัติตามคุณลักษณะอันสูง ส่งแล้วมนุษย์ย่อมแสดงตัวเองว่าสูงส่งกว่าสัตว์ป่า แต่เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามคุณลักษณะอันหยาบช้า มนุษย์ก็ย่อมแสดงตัวให้เห็นเช่นกันว่ามนุษย์มิได้แตกต่างอะไรไปกว่าสัตว์ป่า สาม ในสี่ของความทุกข์และความเข้าใจผิดในโลกจะสูญสิ้น ถ้าเรารับความคิดเห็นของศัตรูและเข้าใจทัศนะของเขา ทำได้เช่นนี้ เราก็จะสามารถประนีประนอมกับศัตรูของเราหรือคิดถึงศัตรูของเราในทางทีดีขึ้น และเป็นการดีที่เราจะมองเห็นตัวเองให้เหมือนอย่างที่คนอื่นมองเห็นเรา จงพยายามเท่าที่จะทำได้ เราใช่ว่าจะสามารถรู้จักตัวเราเองอย่างเต็มที่เหมือนอย่างที่เราเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความชั่วร้ายในตัวเรา ข้อนี้เราสามารถทำได้ก็เพียงถ้าหากว่าไม่โกรธกับผู้ที่วิจารณ์เรา แต่ยินดียอมรับอะไรก็ได้ที่ผู้วิจารณ์กล่าวถึง ความเป็นคนไม่ใช่อยู่ที่การเสแสร้งยกยอความกล้าอย่างบ้าบิ่นหรือความเป็นเจ้าคนนายคน แต่ ความเป็นคนอยู่ที่การกล้าทำสิ่งที่ถูกต้อง และกล้าเผชิญกับผลของการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวทางการเมือง สังคม หรือด้านอื่นใดก็ตาม ซึ่งความเป็นคนอยู่ที่การกระทำไม่ใช่อยู่ที่การพูด และความกล้าหาญไม่ใช่คุณสมบัติของร่างกาย แต่เป็นคุณสมบัติของจิตวิญญาณ | |
http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4301&acid=4301 -- ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much. blog http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday http://blogpwd.blogspot.com/ http://newsblog9.blogspot.com/ http://bloghealth99.blogspot.com/ http://labour9.blogspot.com/ http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/ http://www.mict4u.net/thai/ http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm http://www.agkmstou.com/2008/index.php http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น