ชวนม่วนชื่น
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:19:44 น. มติชนออนไลน์
เปิดประวัติ เจ้าอาวาส "ฝรั่ง" วัดโพธิญาณ ผู้หาญกล้าฝืนพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช บวช "ภิกษุณี"
จากกรณีคณะสงฆ์ วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี มีมติให้ถอดวัดโพธิญา ณ เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ออกจากการเป็นสาขาของวัด เนื่องจากคณะสงฆ์ของวัดที่มี พระวิสุทธิสังวรเถร (พระพรหมวังโส) เป็นเจ้าอาวาส ดำเนินการอุปสมบทให้กับภิกษุณีซึ่งเป็นการขัดกับระเบียบของคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาท
ทำให้นามของ พระวิสุทธิสังวรเถร (พระพรหมวังโส) เจ้าอาวาส เป็นที่สงสัยใคร่รู้ของผู้ที่ไม่อยู่แวดวงสงฆ์ว่า เหตุใด พระวิสุทธิสังวรเถร (พระพรหมวังโส) เจ้าอาวาสวัดไทย เชื้อสายผู้ดีอังกฤษนี้เป็นใครมาจากไหน
พระวิสุทธิสังวรเถร หรือพระอาจารย์พรหมวังโส (Ven. Ajahn Brahmavamso) ท่านเป็นศิษย์พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง) โดยท่านเป็นชาวอังกฤษ-ออสเตรเลีย เดินทางจากประเทศออสเตรเลีย แล้วมาบวชกับ "หลวงปู่ชา"
ท่านอาจารย์พรหมวังโส เกิดที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2494 ท่านหันมานับถือพุทธศาสนาเมื่อ อายุ 16 ปี หลังจากที่ได้อ่านหนังสือธรรมะขณะที่ยังเป็นนักเรียนมัธยม ความสนใจในพระพุทธศานา และการทำสมาธิภาวนาเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ขณะที่ท่านกำลังศึกษาวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
หลังจากเรียนจบท่านได้ทำงานเป็นครู อยู่ 1 ปี ก่อนตัดสินใจเดินทางมาบวชที่ประเทศไทย ท่านบวชเมื่ออายุ 23 ปี ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีพระพรหมคุณาภรณ์ (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระพุทธจารย์) เป็นอุปัชฌาย์ จากนั้นท่านได้ไปสู่สำนักของหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ อุบลราชธานี มอบตัวเป็นศิษย์ศึกษาธรรมะ ทั้งธุดงควัตร และอบรมจิตใจในด้าน วิปัสสานาธุระ เป็นเวลา 9 ปี
ในปี 2526 ท่านได้รับอาราธนาให้ไปช่วยก่อตั้ง วัดป่าใกล้เมืองเพิร์ธ ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบัน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าโพธิญาณ และประธานทางจิตวิญญาณของพุทธสมาคมแห่งออสเตรเลียตะวันตก และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระราชาคณะ" มีนามว่า "พระอาจารย์พรหมวังโส" เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549
"ชวนม่วนชื่น" หรือ ชื่ออังกฤษว่า "The Opening the Door of Your Heart" หนังสือธรรมะบันเทิงเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องเล่าที่พระอาจารย์พรหมวังโสได้ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ที่ได้บวชเป็นพระในสายวัดป่านิกายเถรวาท เขียนเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งนิทานสอนใจในพระพุทธศาสนา และการปฏิบัติภาวนาในต่างประเทศมาถ่ายทอดเป็นเรื่องเล่าผ่านหน้ากระดาษ
พระอาจารย์พรหมวังโส เกิดมาในครอบครัวยากจนมาก แต่ด้วยเป็นเด็กหัวดีเลยได้ทุนไปเรียนที่เคมบริดจ์ เป็นเส้นทางเริ่มต้นนับถือศาสนาพุทธจนกระทั่งบวชเป็นพระตลอดชีวิต โดยท่านกล่าวว่า เกิดจาก "ความผิดพลาด" ซึ่งเกิดจากเรื่องร้ายในชีวิตหลายๆ ครั้งการทำผิดพลาด กลับทำให้เกิดสิ่งดีๆ กับชีวิตแทน
"วันนั้นจะเดินไปซื้อหนังสือคณิตศาสตร์ แต่เดินไปผิดชั้น ดันไปชั้นหนังสือของศาสนาเลยเอาทุกศาสนามาอ่าน และพบว่าพุทธศาสนาน่าสนใจมาก และตรงกับใจตั้งแต่บัดนั้นก็สนใจอย่างจริงจัง เข้าอบรมทำสมาธิตลอด"
อย่างไรก็ตาม ท่านเคยกล่าวถึงการเปลี่ยนตัวเองจากนักศึกษามาเป็นพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่เรื่อง ง่ายนัก ต้องสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตภายในและหน้าที่อื่นๆ ภาระงานของพระจึงมีจำนวนมาก มิใช่เพียงการนั่งนอน อ่านหนังสือธรรมะไปวันๆ เหมือนที่หลายคนเข้าใจ โดยพระอาจารย์พรหมวังโสเชื่อว่า ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ พระพุทธศาสนาจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้ ด้วยการทำให้เกิดความไว้วางใจและการแบ่งปัน นอกจากนี้ ศาสนาพุทธในต่างประเทศยังเป็นที่ต้องการจะเรียนอย่างสูงในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป แต่ไม่มีพระเพียงพอ
กับข่าวการ "อุปสมบท" ให้กับภิกษุณี และมติถอดวัดโพธิญาณ เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ออกจากการเป็นสาขาของวัด คงต้องติดตามต่อไปว่าประเทศออสเตรเลียจะยังคงมีวัดไทยแห่งนี้ต่อไปอีกหรือ ไม่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1261387367&grpid=&catid=02
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น